Pinky Design Pointer
" Welcome to my blog >-< !!! "

วันศุกร์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

Active and Passive Voice
ประโยค Active Voice คือ ประโยคที่มีประธานเป็นผู้กระทำ หรือ แสดงกริยาโดยตรง

Subject + Verb

ตัวอย่างเช่น
He plays tennis. (เขาเล่นเทนนิส)
I will clean the house tonight. (ฉันจะทำความสะอาดบ้านคืนนี้)
ประโยค Passive Voice คือ ประโยคที่ประธานเป็นผู้ถูกกระทำ

Subject + Verb to be + Verb 3 (Past Participle)

ตัวอย่างเช่นThe book was written by me.
I was punished by the teacher.

หลักการเปลี่ยนประโยค Passive Voice เป็น Active Voice ในกรณีต่างๆ

1. กรณีที่ประโยคมีกรรมตัวเดียว (Direct Object)
1.1 เปลี่ยนกรรม (object) ในประโยค Active Voice มาเป็นประธานในประโยค
1.2 เปลี่ยนประธาน (subject) ในประโยค Active Voice มาเป็นกรรมในประโยค พร้อมกับใส่คำว่า “by” ด้านหน้า
1.3 ทำการผันรูปกริยาให้อยู่ในช่องที่ 3 (Past Participle) พร้อมกับเติม Verb to be ด้านหน้า เช่น is, am , are, was, were, be, being, been ซึ่งขึ้นอยู่กับ Tense ของประโยคนั้นๆ
2. กรณีที่ประโยคมีกรรมตรง (Direct Object) และกรรมรอง (Indirect Object)

2.1 เรานิยมนำกรรมรอง (Indirect Object) ขึ้นมาเป็นประธาน เช่น
I was given a birthday present by my sister.
2.2 เราสามารถนำกรรมตรง (Direct Object) ขึ้นมาเป็นประธานได้ แต่จะต้องใส่ “to” หน้ากรรมรองเสมอ เช่น
A birthday present was given to me by my sister.

ข้อสังเกต

1. เราไม่จำเป็นต้องระบุผู้กระทำลงไปในประโยค Passive Voice ในกรณีที่
- ประโยคนั้นไม่ต้องการที่จะเน้นผู้กระทำ เช่น
Our new house is going to be built next month. (ละผู้กระทำไป เนื่องจากต้องการที่จะเน้นถึงบ้านหลังใหม่ว่ากำลังจะถูกสร้างเท่านั้น
- ต้องการละผู้กระทำไว้ เนื่องจากเป็นที่รู้กันอยู่แล้ว เช่น
The thieves were all arrested (ละคำว่า by police เนื่องจากเป็นที่รู้กันอยู่แล้วว่าตำรวจมีหน้าที่จับขโมย)
- ไม่ทราบว่าใครคือผู้กระทำ เช่น
This building was built in 1999. (เราไม่ทราบว่าใครเป็นผู้สร้างตึกนี้ รู้เพียงแต่ว่าตึกนี้ถูกสร้างมาในปี 1999)

ตัวอย่างการผันรูปเป็นประโยค Passive Voice แบบไม่มีผู้กระทำ

Active Voice:
We must strictly follow the company rules.
เราจะต้องปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ของบริษัทอย่างเคร่งครัด

Passive Voice:
Company rules must be strictly followed. (ละเว้นคำว่า “by us” ออกไป)
กฎเกณฑ์ของบริษัทจะต้องได้รับการปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด

2. เราสามารถสร้างประโยค Passive Voice ในรูปแบบไม่เป็นทางการได้ด้วยการสร้างประโยคในรูปแบบของ Get-Passive ซึ่งเป็นการนำคำว่า “get” มาใช้แทน Verb to be ซึ่งมีโครงสร้าง ดังนี้

Subject + get + Verb 3 (Past Participle)

3. กริยาที่ไม่ สมบูรณ์ด้วยตัวเอง (Linking Verbs) ไม่สามารถผันให้อยู่ในรูปประโยคของ Passive Voice ได้ เพราะ คำกริยาเหล่านี้ไม่สามารถมีกรรมได้ ซึ่งได้แก่

appear be become come
end up / wind up feel get go
grow look prove remain
seem sound stay smell
taste turn turn out

ตัวอย่างเช่น
This soup tastes strange. (ซุปชามนี้รสชาติแปลก)
I stayed in my room all day. (ฉันอยู่ในห้องของฉันทั้งวัน)

หลักการใช้ wish

Wish

 wish  เป็นกริยา หมายถึง "ปรารถนาดี หรือต้องการ" มีวิธีใช้ดังนี้    
  

       1. to wish (someone) to do something
              wish + to +V1 เป็นความปรารถนาหรือต้องการทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่เป็นไปได้
- We wish to book some seats for the concert.             
- Do you wish to sit here , sir?           
- She wishes to go to the party.


       2. to wish someone something           
              wish + Noun + Noun เป็นความปรารถนาให้ผู้อื่นได้รับความสุข หรือประสบผลสำเร็จที่ดีงาม
 - We wish him all the best.            
 - I wish you a Happy New Year.           
 - I wish you success and happiness.           
 - I wish you a Merry Christmas.           
 - I wish you the very best of luck.


        3. to wish (that) noun clause
ประโยคที่ใช้ตามหลัง wish นั้น เป็นประโยคแสดงสิ่งที่ปรารถนาซึ่งตรงข้ามกับความเป็นจริง หรือปรารถนาในสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ ซึ่งมีวิธีใช้ ดังนี้          
  
       3.1 ความปรารถนาในปัจจุบัน             
              wish + Past Simple  (wish = If o­nly ซึ่งใช้แทนกันได้)             
              If o­nly
- Do you wish you lived in America now? 

 - I wish I could speak German. 
- We wish we weren't so tired.            
 ประโยคทั้ง 3 ข้างต้นนี้ ความเป็นจริงมิได้เป็นอย่างที่ปรารถนา เมื่อเรานึกถึงความเป็นจริงที่เกิดขึ้น             
เราใช้ "I'm sorry" หรือ "It's a pity" แสดงความจริงที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน       
เราใช้ I'm sorry หรือ It's a pity + Present Simple               
- Do you wish you lived in America now? (ความปรารถนาในปัจจุบัน)              
(=Are you sorry / Is it a pity you don't live in America now? - ความจริงในปัจจุบัน)             
- I wish I could speak German. (ความปรารถนาในปัจจุบัน)           
(= I'm sorry/It's a pity I can't speak German. -- ความจริงในปัจจุบัน)             
- We wish we weren't so tired. (ความปรารถนาในปัจจุบัน)             
(= I'm sorry / It's a pity we are so tired. --- ความจริงในปัจจุบัน)              
ดังนั้นการใช้ wish ต้องดูว่าเป็นความปรารถนาในปัจจุบัน อดีต หรืออนาคต

        3.2 ความปรารถนาในอนาคต              
              wish + S + would + V1 (If only)       
 - I wish I could go with you next Sunday. (ถ้าประธานเป็นคนเดียวกัน ใช้ could)             
(=If o­nly I could go with you next Sunday.)            
- I wish Jack would come to my birthday party tomorrow evening.             
(= It's a pity Jack won't come.)             
- He wishes he could swim.             
(=It's a pity he can't swim.)             
- She wishes I would go with her.            
(=I'm sorry I won't go with her.)

        3.3 ความปรารถนาในอดีต            
              wish + Past Perfect            
              If only        
เป็นการแสดงความปรารถนาสิ่งที่ไม่อาจเป็นจริงขึ้นมาได้ และตรงข้ามกับความเป็นจริงในอดีต             
- I wish you had been here yesterday. ฉันปรารถนาว่าคุณอยู่ที่นี่เมื่อวานนี้              
(= It's a pity you weren't here yesterday.) ความเป็นจริงคือเมื่อวานคุณไม่ได้อยู่ที่นี่             
- I wish it hadn't rained heavily yesterday. ความปรารถนาเหตุการณ์ในอดีต             
(=It's a pity it rained heavily yesterday. ความจริงในอดีต)            
- I wish I had worked harder last semester. ความปรารถนาเหตุการณ์ในอดีต             
(= It's a pity I didn't work harder last semester. ความเป็นจริงในอดีต)           
- If o­nly the weather had been better yesterday. ความปรารถนาในอดีต            
(=It's a pity the weather wasn't better yesterday. ความเป็นจริงในอดีต)

If Clause 

If Clause หรือ Conditional Sentence แบ่งได้ 4 รูปแบบ ดังนี้ 


1. Zero Condition : เรียกว่า Pesent Real ใช้นำเสนอ ความจริงหรือเป็นเหตุเป็นผลหรือธรรมชาติ

If + Subject + v1 , Subject + v1
Example: If I travel abroad, I take my passport.


2. First Condition : เรียกว่า Future Possibility ใช้นำเสนอ ความจริงหรือเหตุการณ์ที่มีแนวโน้มว่าจะเกิด(ในอนาคต)
If + Subject + v1 , Subject + will + v1
Example: If it rains later, we'll get wet.


3. Second Condition : เรียกว่า Present Unreal ใช้นำเสนอ สิ่งที่ไม่เป็นจริงหรือมีโอกาสน้อยที่จะเกิดขึ้น(ในอนาคต)
If + Subject + v2 , Subject + would + v1
Example: If I were you, I would take the bus to university.


4. Third Condition : เรียกว่า Past Real ใช้นำเสนอ สิ่งที่ไม่เป็นจริงหรือมีโอกาสน้อยที่จะเกิดขึ้น(ในอดีต)
If + Subject + had + v3 , Subject + would + have + v3
Example: If I had known David, I wouldn't have married him.